วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประเทศอาเซียน (ฟิลิปปินส์)





ธงประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (the Philippines) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) (ภาษาตากาล็อก: Repúbliká ng̃ Pilipinas) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นชาติเดียวในเอเชีย ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ :   นายเดชาวัต  วารีรักษ์
 ชื่อเล่น :  เอฟ    เลขที่ 30  ปวช.1/2
วันเกิด : 10  ตุลาคม  2538

   ส่วนสูง : 180   น้ำหนัก : 104
ที่อยู่ : 125/7 เขตดุสิต ถนนนครไชยศรี  แขวงถนนนครไชยศรี
กรุงเทพฯ 10300
อาหารที่ชอบ : ไข่เจียวทุกชนิด    

อาหารที่ไม่ชอบ : อาหารที่ไม่อร่อย ไม่สะอาด
สีที่ชอบ : สีชมพู      

ตัวการ์ตูนที่ชอบ  ทอมแอนเจอรี่
ชอบไปเที่ยวสถานที่ๆแปลกใหม่ ชอบผจญภัย

ความรู้เกี่ยวกับบัญชี

การบัญชี (Accounting) หมายถึง งานศิลปะของการนำรายงานและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล
และวิเคราะห์ ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์
คำว่า การบัญชี (Book-keeping) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย เช่น

"การบัญชี คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน และสิ่งที่มีค่าเป็นเงิน
ไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้"

การทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึง งานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก
และรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินได้
การทำบัญชีเป็นงานย่อยส่วนหนึ่งของการบัญชี
บุคคลผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชี เรียกว่า นักบัญชี (Accountant) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่บันทึกและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเงินประจำวัน เรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper)


 ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี

1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงาน
ที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และ
ทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็น
ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าไว้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ

เรื่อง รูปแบบกิจการของธุรกิจ

รูปแบบของกิจการ (Forms of Organization) 
การจัดทำงบการเงินในแต่ละธุรกิจจะมีรายการค้าที่แตกต่างกันออกไปบ้าง โดยต้องศึกษาว่ากิจการค้านั้นตั้งขึ้นในลักษณะใดและประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างไร
กิจการหากแบ่งตามลักษณะของการดำเนินงานเพื่อประกอบการ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. กิจการให้บริการ เรียกว่า ธุรกิจบริการ (Service business) เป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน บริษัทขนส่ง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
2. กิจการจำหน่ายสินค้า (ซื้อมาขายไป) เรียกว่า ธุรกิจพาณิชยกรรม (Merchandising business) เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ทำการผลิตเอง เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
3. กิจการอุตสาหกรรม เรียกว่า ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing business) เป็นธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าเองโดยการซื้อวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปจำหน่าย เช่น บริษัทผลิตยา บริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
รูปแบบกิจการของธุรกิจแบ่งตามลักษณะของการจัดตั้งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company)
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) เป็นธุรกิจขนาดเล็กใช้เงินทุนไม่มากมีเจ้าของเพียงคนเดียวเป็นผู้นำเงินมาลงทุนและทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานเอง เช่น ร้านค้าปลีก อู่ซ่อมรถ และกิจการบริการวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของกิจการเป็นผู้มีสิทธิ์ในสินทรัพย์ และเมื่อมีกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นก็จะเป็นผู้รับส่วนของกำไรหรือขาดทุนทั้งหมดนั้นแต่เพียงผู้เดียว ตลอดจนรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนเช่นเดียวกัน ในทางกฎหมายกิจการเจ้าของคนเดียวไม่ถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของกิจการแต่ในทางบัญชีถือเป็นหน่วยอิสระหน่วยหนึ่งและแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของ ข้อดีของธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของกิจการเจ้าของคนเดียวนี้คือ การจัดตั้งและการบริหารงานง่าย รวดเร็ว เนื่องจากการตัดสินใจขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ส่วนข้อเสียคือ การขยายกิจการทำได้ยาก เพราะมีเจ้าของเพียงคนเดียว การกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จึงขึ้นอยู่กับฐานะและชื่อเสียงของเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของกิจการชนิดนี้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา และเสียภาษีในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership) 
เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงร่วมลงทุนซึ่งทุนที่จะนำมาลงทุนนั้นอาจเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือแรงงานก็ได้
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรระหว่างกัน
มีการกำหนดเงื่อนไขในการบริหารงานและการแบ่งผลกำไรไว้อย่างชัดเจน
ผู้ลงทุนในห้างหุ้นส่วน เรียกว่า "ผู้เป็นหุ้นส่วน"
กิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางมักจัดตั้งขึ้นในรูปของห้างหุ้นส่วน
ข้อดีของธุรกิจที่ตั้งขึ้นในรูปแบบกิจการห้างหุ้นส่วนคือ
การตัดสินใจในการบริหารงานเป็นไปอย่างรอบคอบเนื่องจากมีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมในการตัดสินใจ
การขยายกิจการทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
ส่วนข้อเสียคือ
อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ เนื่องจากต้องรอความเห็นชอบจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ๆ ก่อน
ห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ (ปพพ.) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือหุ้นส่วนสามัญ
ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หมายความว่าถ้าห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลายและสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ไม่พอนำมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องร้องหุ้นส่วนแต่ละคนให้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ได้
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นคณะบุคคลมิใช่นิติบุคคลมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียวและเสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น
2.2 หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
หุ้นส่วนพวกนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้บริหารห้างหุ้นส่วนในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและมีหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบใน
หนี้สินไม่จำกัดจำนวนอย่างน้อย 1 คน เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company)  เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 7 คน
 ผู้เริ่มก่อการตอนจดทะเบียนบริคณฑ์สนธิต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
 ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทจำนวนทุนและจำนวนหุ้นจดทะเบียน และแบ่งทุนออกเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน
 บริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลคือ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของคือผู้ถือหุ้น (Stockholders or Shareholders)
 ผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น
 บริษัทจะให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของราคาหุ้นที่ขาย
 ผู้ถือหุ้น 1 หุ้นมีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง ถ้ามีหุ้นเป็นจำนวนมากจะมีสิทธ์ออกเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่นั้น
 ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่มีสิทธิ์เข้ามาจัดการงานของบริษัท เว้นแต่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการเพราะการจัดการบริษัทเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทเท่านั้น
 ผู้ถือหุ้นได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividends)
 หุ้นของบริษัทจำกัดอาจเปลี่ยนมือกันได้โดยการจำหน่ายหรือโอนหุ้นให้ผู้อื่น โดยไม่ต้องเลิกบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้น (เจ้าของ) ทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทจำกัด
 จำนวน คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจึงไม่เป็นสาระสำคัญ
 บริษัทที่จดทะเบียนแล้วจะใช้คำนำหน้าว่า "บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด"
ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ จะใช้คำว่า "บริษัท….….จำกัด" หรือไม่ก็ได้
บริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือ
1. บริษัทเอกชนจำกัด (Private Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ตามมาตรา 1096 มีผู้เริ่มก่อการไม่ต่ำกว่า 7 คน
2. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 15 คน และต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อย 5 % ของทุนจดทะเบียนแต่ละคนถือหุ้นไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จดทะเบียน และตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป/ต้องมีคำนำหน้าชื่อว่า"บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด (มหาชน)"

ประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีคือ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2542 ทางสมาคมได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีใหม่ และยกเลิกมาตรฐานการบัญชีเดิมในหลายฉบับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนามาตรฐานการบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
แนวคิดพื้นฐานของการบัญชีจะเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการศึกษาแนวทิศทางการบัญชี จะช่วยให้เข้าใจถึงหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งโยงไปถึงหลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน และจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินมีความเข้าใจ และเชื่อถือในข้อมูลทางการบัญชีมากขึ้นด้วย ซึ่งสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชี ซึ่งเป็นมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ที่ใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่องข้อสมมติขั้นมูลฐานทางการบัญชี ดังนี้
ข้อสมมติทางการบัญชี
1 เกณฑ์คงค้าง ภายใต้เกณฑ์คงค้าง รายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้ เมื่อเกิดขึ้น ไม่ใช่เมื่อมีการรับ หรือจ่ายเงินสด ซึ่งหมายถึง การบันทึกรายการทางการบัญชีจะบันทึกและแสดงในงบการเงินตามงวดเวลาที่รายการนั้นๆ เกินขึ้นจริง โดยไม่คำนึงว่ามีการรับเงินสด หรือจ่ายเงินสดขณะเกิดรายการนั้นหรือไม่ 2 การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง 
โดยทั่วไปงบการเงินจะจัดทำขึ้นภายใต้ข้อสมมติว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ซึ่งหมายถึง กิจการที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ย่อมมีวัตถุประสงค์จะดำเนินงานต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีกำหนดเวลา ว่าจะเลิกกิจการเมื่อไร หรือนานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่างๆ ที่ได้ผูกพันไว้จนกว่าจะเสร็จ
ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณะเชิงคุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของงบการเงินมี 4 ประการได้แก่ ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันไป
2.1 ความเข้าใจได้
หมายถึง งบการเงินนั้นจะต้องสามารถเข้าใจได้ทันที่ที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูล ทั้งนี้อยู่ภายใต้ข้อสมมติที่ว่าผู้ใช้งบการเงินนั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องของธุรกิจพอควร
2.2 ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
ข้อมูลที่ปรากฎในงบการเงินจะต้องเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งบการเงิน นั่นคือ สามารถทำให้ผู้ใช้งบการเงินประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งยืนยัน หรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้
2.3 ความเชื่อถือได้
ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินจะต้องปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ และความลำเอียง นั่นคือ จะต้องแสดงรายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีอย่างเที่ยงธรรม ตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง ตามเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ เช่น กิจการอาจจะโอนรถยนต์ให้กับบุคคลอื่น โดยมีหลักฐานยืนยันการโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย แต่ในสัญญายังระบุให้กิจการสามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวในอนาคตนั่นต่อไป กรณีเช่นนี้ การที่กิจการจะรายงานว่ามีการขายรถยนต์ จึงไม่สามารถถือได้ว่าเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการที่เกิดขึ้น
ผู้จัดทำงบการเงินจะต้องใช้ความระมัดระวังในการรายงานเหตุการณ์ทางการเงิน เมื่อประสบกับความไม่แน่นอน อันหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้, การประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ความไม่แน่นอนของหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากสัญญารับประกัน, คดีฟ้องร้อง โดยจะต้องใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการรายได้ ความไม่แน่นอน เพื่องบการเงินแสดงจำนวนที่สูงหรือต่ำจนเกินไป นอกจากนี้ ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วน ภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญ และต้อทุนในการจัดทำ
เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ซึ่งถ้าหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีโอกาสรับทราบแล้วอาจจะตัดสินผิดไปในกรณีที่รับทราบ ในทางปฏิบัติความมีนัยสำคัญของรายการมักจะกำหนดโดยคิดเทียบเป็นร้อยละของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือกำไรสุทธิ แล้วแต่กรณี
2.4 การเปรียบเทียบกันได้
ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกัน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการนั้น และต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างกิจการเพื่อประเมินฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน โดยผู้ใช้งบการเงินต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 จะถูกยกเลิกแล้ว แต่ในเนื้อหาบางส่วนโดยเฉพาะข้อสมมติขั้นมูลฐาน ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ศึกษาวิชาการบัญชีต้องทำความเข้าใจ
ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี คือ ข้อกำหนดทางการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่มีการพิสูจน์ โดยปกติมักกำหนดขึ้นจากการประมวลจากหลักและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ กัน ในบางครั้งข้อกำหนดดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่มีเหตุผล ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีเป็นหลักเกณฑ์ที่สำตัญในการจัดทำงบการเงิน หากผู้ใช้งบการเงินไม่เข้าใจถึงข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี ก็ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมนักบัญชีจึงเสนอข้อมูลในลักษณะเช่นนั้น โดยปกตินักบัญชีที่จัดทำงบการเงินจะไม่กล่าวถึงข้อสมมติดังกล่าวซ้ำอีก ทั้งนี้ เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าข้อสมมติขั้นมูลฐานนั้น ได้รับการยอมรับและใช้กันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากในการจัดทำงบการเงินไม่ได้ใช้ข้อสมมติดังกล่าว ก็จำเป็นต้องเปิดเผยให้ทราบพร้อมด้วยเหตุผล เท่าที่ผ่านมาข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี ถูกกำหนดขึ้นโดยประมวลมาจากหลักและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ กัน จนข้อสมมตินั้น ๆ ได้ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป คณะกรรมการของสมาคมวิชาชีพการบัญชีและนักวิชาการต่าง ๆ ได้พยายามจัดทำข้อสมมติขั้นมูลฐานดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่าทำกันได้หลายแบบ แต่ละแบบจะมีจำนวนข้อสมมติซึ่งเป็นแนวความคิดขั้นมูลฐาน (Concepts) ข้อสมมติขั้นมูลฐาน (Assumption) และหลักการบัญชี (Principles) ต่าง ๆ กัน ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 ซึ่งกำหนดให้เริ่มถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับงวดหรือปีสิ้นสุด วันที่ 1 กันยายน 2522 เป็นต้นไป สรุปได้ดังนี้
หลักการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี (The Monetary Unit Assumption) การบัญชีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทางการบัญชีอาจเป็นพรรณาโวหารก็ได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวจะให้ความหมายไม่ชัดเจนเท่า
ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เนื่องจาก หน่วยเงินตราใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน และทำหน้าที่เป็นหน่วยวัดราคา ดังนั้นนักบัญชีจึงใช้หน่วยเงินตราในการวัดผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ (The Entity Concept) ข้อมูลทางการบัญชีเป็นข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานหนึ่ง ๆ ซึ่งแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการและกิจการอื่น หน่วยงานในที่นี้ได้แก่หน่วยธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นในรูปของบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน บุคคลคนเดียวหรือในรูปอื่น ดังนั้นจึงต้องระบุหน่วยของกิจการไว้ในงบการเงินนั้น ๆ
ความเป็นหน่วยงานตามข้อสมมติของการบัญชีอาจไม่เหมือนกับความหมายของความเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย เช่น บริษัทต่าง ๆ ในเครือเป็นกิจการแยกกันตามกฎหมาย แต่ในการทำงบการเงินรวมนักบัญชีถือว่าบริษัทต่าง ๆ ในเครือนั้นเป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน
หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม (The Objectivity Principle) เนื่องจากงบการเงินทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งอยู่ในสถานะต่าง ๆ กัน นักบัญชีผู้ทำงบการเงินอยู่อีกสถานะหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจงบการเงินของกิจการได้ถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด การบันทึกรายการบัญชีและการทำงบการเงิน จึงต้องจัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักฐานและข้อเท็จจริงอันเที่ยงธรรมที่บุคคลต่าง ๆ ยอมรับและเชื่อถือได้ หลักฐานดังกล่าวจะต้องปราศจากความลำเอียงหรือไม่มีอคติต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ โดยพยายามหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนบุคคลให้มากที่สุด
หลักรอบเวลา (The Time Period Assumption) กระบวนการการบัญชีการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกิจการสำหรับรอบเวลาหรือรอบบัญชีที่ระบุไว้ ส่วนผู้ใช้งบการเงินทำการประเมินผลและตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการตามวาระและเวลาต่าง ๆ กันตลอดอายุของกิจการ ดังนั้น จึงต้องแบ่งการทำงานของกิจการออกเป็นรอบเวลาสั้น ๆ เพื่อจัดทำข้อมูลไว้เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ โดยปกติรอบเวลาดังกล่าวมักจะกำหนดไว้เท่ากันเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบและมีระบุไว้ชัดในงบการเงิน
หลักการดำเนินงานสืบเนื่อง (The Going Concern Assumption) กิจการที่จัดตั้งขึ้นย่อมมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอยู่โดยไม่มีกำหนด กล่าวคือ หากไม่มีเหตุชี้เป็นอย่างอื่นแล้ว กิจการที่ตั้งขึ้นย่อมจะดำเนินงานต่อเนื่องกันไปอย่างน้อยก็นานพอที่จะดำเนินงานตามแผนและข้อผูกพันที่ได้ทำไว้จนสำเร็จ นักบัญชีจึงมีข้อสมมติขั้นมูลฐานว่ากิจการไม่ตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงาน หรือไม่จำเป็นต้องเลิกดำเนินงาน หรือต้องลดปริมาณการดำเนินงานลงอย่างมาก หากมีเหตุอื่นใดชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ในภายหน้าจะไม่เป็นไปตามข้อสมมติดังกล่าว ก็จะต้องใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้สำหรับเหตุการณ์นั้น ๆ โดยเฉพาะแทน
หลักราคาทุน (The Cost Principle) หลักราคาทุนเกี่ยวโยงกับหลักความดำรงอยู่ของกิจการ ตามหลักราคาทุนการบันทึกสินทรัพย์และหนี้สินถือเกณฑ์ราคาทุนเดิม ซึ่งหมายถึงราคาอันเกิดจากการแลกเปลี่ยน ราคาทุนเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าราคาอื่น ๆ เพราะราคาทุนเป็นราคาที่แน่นอนและสามารถคำนวณได้อย่างตรงไปตรงมาไม่ขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละคนซึ่งอาจแตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตามการใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ก็มีข้อเสียหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในกรณีที่มีการใช้ราคาอื่นที่มิใช่ราคาทุน ควรเปิดเผยให้ทราบด้วย
หลักการเกิดขึ้นของรายได้ (The Revenue Realization Principle) หลักการเกิดขึ้นของรายได้เป็นหลักเกี่ยวกับการบันทึกรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าว่าควรจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นเมื่อใด และในจำนวนเงินเท่าใด
โดยทั่วไป นักบัญชีจะลงบันทึกว่ารายได้ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีเงื่อนไข 2 อย่างต่อไปนี้
(1) กระบวนการก่อให้เกิดรายได้ได้สำเร็จแล้ว และ
(2) การแลกเปลี่ยนได้เกิดขึ้นแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รายได้เกิดขึ้นในงวด ซึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว สำหรับจำนวนเงินที่บันทึกเป็นรายได้นั้นก็คือจำนวนที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีนักบัญชีถือว่ารายได้เกิดขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์อื่นที่แตกต่างไปจากข้างต้น







แหล่งที่มา http://blog.eduzones.com/offy/3888

เกี่ยวกับอาเซียน






กำเนิดอาเซียน อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง  5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม  มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ  รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)  นายเอส  ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538)  ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงานนโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
  1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
  2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ



แหล่งที่มา

ประเภทของDomain name

แบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ โดเมน 2 ระดับ  และโดเมน 3 ระดับ
1.  เมน 2 ระดับ  มีลักษณะดังนี้  hotmail.com , thai.net เป็นต้น  โดยโดเมนแบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน และตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุด  คือคำย่อของประเภทองค์กร

ประเภทองค์กร

Com  -  กลุ่มองค์กรการค้า
Edu   -  กลุ่มการศึกษา
Gov   - กลุ่มองค์กรรัฐบาล
Mit    -  กลุ่มองค์กรการทหาร
Net    -  กลุ่มการบริการเครือข่าย
Org    -  กลุ่มองค์กรอื่นๆ
2.              โดเมน 3 ระดับ มีลักษณะดังนี้  dora.co.th , onec.go.th , kois.go.kr เป็นต้น  โดเมนเนมในลักษณะนี้จะประกอบด้วย  ชื่อโดเมน , ตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุดใช้ระบุประเภทขององค์กรแต่มีรูปแบบแตกต่างจากคำย่อที่ใช้โดเมนเนม 2 ระดับ และตัวย่อที่ระบุประเทศที่ก่อตั้งขององค์กรนั้นๆ  ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าในอเมริกานั้นจะใช้ตัวย่อของประเภทองค์กรเป็นตัวอักษร 3 ตัว microsolf.com  ในกรณีที่ประเทศอื่นๆเช่นบ้านเราจะมีเพียงแค่ 2 ตัว เช่น moe.go.th

ประเภทขององค์กร

                .go          หน่วยงานรัฐบาล
                .ac           สถาบันการศึกษา
                .co           องค์กรธุรกิจ
                .or           องค์กรอื่นๆ
ตัวอย่าง
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน
ยูอาร์แอล: http://www.example.com/
โดเมนเนม: example.com 
ซับโดเมน : subdomain.example.com
โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ
ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 192.0.34.166 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:
example1.com
example2.net
example3.org 
เมื่อมีคำร้องขอ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชื่อโฮสต์ก็จะถูกร้องขอเช่นกัน เพื่อส่งไปยังผู้ใช้




หลักการใช้งาน Internet Explorer สำหรับท่องเน็ต

หลักการใช้งาน Internet Explorer สำหรับท่องเน็ต

เบื้องต้น ที่ควรจะทราบไว้IE หรือ Internet Explorer เป็นซอฟต์แวร์ สำหรับใช้งานระบบอินเตอร์เน็ต หรือมักจะนิยมเรียกว่า Browser ที่มีแถมมากับ Windows98 ทุกรุ่น โดยที่หากเป็น Windows98 Thai ก็จะมี IE4.0 แถมมาด้วย หากเป็น Windows98 SE ก็จะเป็น IE5.0 และถ้าเป็น WindowsMe ก็จะมี IE5.5 แถมมาให้ ดังนั้น หากคิดจะเล่นอินเตอร์เน็ตด้วย IE แล้วละก็ มาดูเทคนิค พื้นฐานเบื้องต้น ที่ควรจะรู้ไว้ ในการใช้ IE ให้เต็มความสามารถกันดีกว่าครับ
เมนู ปุ่ม และคำสั่งในเบื้องต้น
การใช้งาน IE ในเบื้องต้นก็คงจะไม่มีอะไรมากนัก คิดว่าหลาย ๆ คนคงจะพอรู้กันอยู่บ้างแล้ว เอาเป็นว่าผมจะทบทวนหลัก ๆ อีกครั้ง จากหน้าตาของ IE ที่คุ้นเคยกันดังนี้


เรียกมาดูใหม่อีกครั้ง โดยที่ไม่ต้องทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตใหม่ ซึ่งสามารถทำได้ 3 รูปแบบดังนี้
1. การใช้เมนู File >> Work Offline โดยการเลือกที่ Work Offline หรือเป็นการทำงานในแบบ Offline นั่นเอง เมื่อเลือกที่เมนูนี้แล้ว จะทำให้เราสามารถเรียกดูข้อมูลของเว็บที่ได้เคยแวะเข้าไปเยี่ยมชมและยังมีเก็บอยู่ใน Temporary File ขึ้นมาดูได้ โดยวิธีนี้อาจจะไม่สามารถรับประกันได้ว่า เว็บเพจที่เคยเข้าไปดูนั้น จะยังอยู่ครบหรือไม่นะครับ เพราะขนาดที่จำกัดของ พื้นที่ของ Temporary File นั่นเอง

2. การใช้เมนู File >> Save as หน้าเว็บเพจ ที่ต้องการเก็บไว้ วิธีนี้จะเป็นการเก็บข้อมูลทั้งหน้าลงใน ฮาร์ดดิสก์ ทำให้เก็บข้อมูลของหน้าเว็บเพจ ไว้ได้ตลอดไป เมื่อต้องการเรียกดูใหม่ก็เลือกเปิดที่ ชื่อไฟล์ที่เราเก็บไว้ได้เลย
3. การใช้เมนู Favorites >> Add Favorite ที่จริงแล้วเป็นการเก็บเฉพาะลิงค์ ของหน้าเว็บที่ต้องการไว้ แต่ถ้าหากเลือกที่ช่อง Make available offline ไว้ด้วย จะเป็นการสั่งให้ IE ทำการเก็บข้อมูลของหน้าเว็บนั้นแบบ Offline ได้ด้วย หากต้องการเรียกดูเมื่อไร ก็สามารถทำได้มันมี นอกจากนี้ยังสามารถสั่งให้ IE ทีการเช็คและอัพเดทข้อมูลของ Favorite ที่ตั้ง Offline นี้ไว้ได้โดยการเลือกที่เมนู Tools >> Synchronize ได้ด้วยครับ
การกำหนด Text Size และ Encode ของตัวอักษร
จากเมนู View จะมีให้เลือก Text Size และ Encoding ซึ่งเป็นการกำหนดขนาดของตัวอักษรและการเข้ารหัสภาษา ที่แสดงในแต่ละหน้าของเว็บเพจ ซึ่งในบางครั้ง เราสามารถทำการปรับแต่งขนาด และการกำหนดภาษานี้ได้ หากเข้าไปในเว็บบางที่ แล้วไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ก็ลองเปลี่ยน Encoding ช่องนี้ให้เป็น Thai ดูนะครับ
การเก็บลิงค์ของเว็บที่ชอบไว้ใน Favorites
ขณะที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตไปเรื่อย ๆ หากพบเว็บไซต์ที่ถูกใจ ต้องการเก็บลิงค์ของหน้าเว็บนั้นไว้ ก็สามารถทำได้โดยการเลือกที่เมนู Favorites และ Add Favorite จะทำให้ชื่อเว็บไซต์นั้น บันทึกอยู่ในเมนูของ Favorite ได้ วิธีนี้อาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การทำ Book Mark นั่นเอง โดยที่ใน Favorite ก็ยังสามารถสร้าง Folder ต่าง ๆ เพื่อแยกเก็บลิงค์ ของเว็บไซต์แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้ด้วย
การตั้งค่าของ Internet Options
เมนูหลัก ที่ใช้งานบ่อย ๆ และควรจะทราบไว้คือ Tools และเลือก Internet Options ซึ่งจะเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ ของ Internet Explorer ให้เหมาะกับการใช้งานของเรา มาดูหลัก ๆ ที่ควรทราบและตั้งให้เหมาะสมกัน


Home Page คือการตั้งหน้าเว็บเพจเริ่มต้น เมื่อเปิดโปรแกรม IE โดยอาจจะเลือกที่ปุ่มด้านล่างก็ได้
Use Current คือการตั้งหน้าเว็บเพจปัจจุบัน ให้เป็นหน้าแรก
Use Default คือการตั้งเป็นค่าเดิมของ Microsoft.com
Use Blank คือการตั้งหน้าแรกเป็นหน้าว่างเปล่า
Temporary Internet Files เป็นการกำหนดขนาดและที่อยู่ของ Temporary File สำหรับการดูแบบ Offline
History คือการกำหนด History ของเว็บเพจที่เคยเยี่ยมชมแล้ว ว่าจะเก็บไว้กี่วันหรือจะ Clear ทิ้ง
Colors เป็นการกำหนดสีต่าง ๆ ของการใช้งาน IE
Fonts เป็นการกำหนด Fonts ต่าง ๆ (แนะนำให้ตั้งเป็น Microsoft Sans Serif นะครับ)
Languages เป็นการกำหนดภาษาของ IE
Accessibility เป็นการกำหนดค่าต่าง ๆ ของ IE
จะเป็นการตั้งค่าอื่น ๆ ต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็คงจะไม่จำเป็นต้องตั้งในส่วนนี้ครับ หากต้องการก็ลองอ่านรายละเอียดกันดู
เทคนิคการใช้งาน IE ที่ควรทราบ
1. การกดปุ่ม เมาส์ขวา เพื่อเรียกเมนูใช้งานอย่างรวดเร็วได้ เช่นการเก็บรูปภาพ การเปิดหน้าต่างใหม่ หรืออื่น ๆ
2. การกดปุ่ม Shift ค้างไว้ก่อนใช้เมาส์กดลิงค์ จะเป็นการบังคับให้เปิดลิงค์ในหน้าต่างใหม่ไปในตัว
3. การกดปุ่ม Shift ค้างไว้พร้อมกับการกดที่ปุ่ม Refresh จะเป็นการเรียกข้อมูลโดยตรงไม่เรียกจาก Proxy Server
4. การกดปุ่ม ALT + ปุ่มลูกศร ซ้าย หรือ ขวา จะเป็นการเรียกใช้เมนู Back หรือ Forward ได้เช่นกัน
5. การกดปุ่ม Ctrl + N เป็นการเปิดหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา
6. หากพบภาพที่ถูกใจ สามารถตั้งให้เป็น Wall Paper ได้ทันทีโดยกดปุ่มเมาส์ขวา เลือกที่ Set as wallpaper
7. เราสามารถส่งหน้าเว็บเพจที่กำลังดูผ่านทางอีเมล์ ได้โดยการเลือกที่ File >> Send โดยจะส่งเป็นลิงค์หรือทั้งหน้าก็ได้
8. ก่อนการพิมพ์หน้าเว็บออกเครื่องพิมพ์ ควรจะเลือกที่ Print Preview เพื่อดูรูปแบบต่าง ๆ เสียก่อน
9. การค้นหาข้อความในหน้าเว็บเพจ สามารถใช้เมนู Edit และ Find (on This Page) หรือกด Ctrl + F ได้
10. การกำหนดขนาดของหน้าต่างที่เปิดใหม่ ทำโดยขยายขนาดของหน้าต่างที่เพิ่งเปิด ให้มีขนาดตามต้องการและกดปิด
11. ควรจะทำการอัพเกรด IE ให้เป็นเวอร์ชัน 5.50 built 4134.0600 หรือสูงกว่านี้เพื่อการใช้งานที่เสถียรขึ้น (มาก ๆ)
ก็หวังว่าจะช่วยให้คุณ ๆ ทั้งหลายได้รู้จักและใช้งาน Internet Explorer ได้มากขึ้นนะครับ อาจจะไม่มีรายละเอียดมากนัก หลาย ๆ ส่วนก็คงจะต้องให้คุณ ทำการทดลองปรับแต่งกันดูเอง แล้วจะเข้าใจมากกว่าที่ดิฉันได้อธิบายมาในนี้




แหล่งที่มา http://www.com-th.net/windows/?ie


ประวัติของอินเตอร์เน็ต

ประวัติของอินเตอร์เน็ต


อินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม





อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้





สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ


สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)
แหล่งที่มา http://swat7928.blogspot.com/2007/09/blog-post_14.html